Wednesday, 2024-04-24, 5:59 PM
Main Registration RSS
Welcome, Guest
จำนวนคนเข้าดู

โพล
Rate my site
Total of answers: 2
สถานนะ

Total online: 1
Guests: 1
Users: 0
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
ปฏิทิน
«  August 2011  »
SuMoTuWeThFrSa
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031
Main » 2011 » August » 3 » ลูกเสือ โรงเรียนหนองแห้ว
12:54 PM
ลูกเสือ โรงเรียนหนองแห้ว
วิชาลูกเสือ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน



จัดทำโดย

นายอาธิศักดิ์ ทองลาด

โรงเรียนหนองแห้ววังมนศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ขอนแก่นเขต ๕

สาระน่ารู้
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระบิดาของลูกเสือไทย)
ประวัติผู้ให้กำเนิดลูกเสือ
ความหมายของคำว่า SCOUT
คำปฏิญาณของลูกเสือ
กฎของลูกเสือ
คติพจน์
การแสดงความเคารพ
การแสดงรหัส
การจับมือแบบลูกเสือ
การถอดหมวก-สวมหมวก
การถวายราชสดุดี
เครื่องหมายลูกเสือ
พิธีการเปิดประชุม
สิ่งสำคัญเมื่อผู้บังคับบัญชาพาลูกเสือไปเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การใช้สัญญาณนกหวีด
การหาทิศโดยการใช้เข็มทิศและการสังเกตจากธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
การก่อกองไฟสำหรับการชุมนุมรอบกองไฟ
เงื่อน
พระราชประวัติ ร.๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 พระนามเดิมของพระองค์ คือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
เมื่อพ.ศ. 2436 ขณะมีพระชนม์มายุได้ 13 พรรษา หลังจากได้รับการศึกษาเบื้องต้นในประเทศไทยแล้ว ได้เสด็จไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ โดยทรงศึกษาวิชาทหารบกที่โรงเรียนแซนด์เฮิร์ต และวิชาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย วรรณคดีที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด รวมเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ 9 ปี
ในปีพ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมารได้สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งเป็นตำแหน่งพระราชทายาทแทน
พ.ศ. 2445 พระองค์ได้เสด็จกลับประเทศไทย และทรงเข้ารับราชการทหาร พ.ศ. 2447 ได้ทรงผนวชและศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน หลังจากลาผนวชได้เสด็จไปประทับ ณ พระราชวังสราญรมย์ พ.ศ. 2450 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสทวีปยุโรป ได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรีโดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 30 พรรษา พระองค์ครองราชย์สมบัติอยู่ 16 ปีจึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระชนมายุได้ 45 พรรษา
ประวัติ บี พี
บี-พี ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก มีชื่อเต็มว่า โรเบิร์ต สติเฟนสัน สไมธ์ เบเดน โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden-Powell (B-P)) เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1857 ณ บ้านเลขที่ 6 ถนนสเตนโฮพและคาสเตอร์เกท ลอนดอนตะวันตก บิดาชื่อ เอช ยี เบเดน โพเอลล์ เป็นศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สอนวิชาเรขาคณิตและธรรมชาติศึกษา มารดาชื่อ เฮนริเอทต้า เกรซ สไมธ์ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนายพลเรือเอก ดับบลิว พี สไมธ์ แห่งราชนาวีอังกฤษ บี-พีเข้าพิธีสมรสเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1912 กับมิสโอลาฟ เซ็นต์แคลร์โซม และบี-พีเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1941 ณ ประเทศเคนยา
ชีวิตในวัยเด็กของท่านบี-พี ท่านกำพร้าบิดาเมื่ออายุได้เพียง 3 ปี ท่านจึงอยู่กับมารดา และได้เรียนวิชาการขั้นต้นกับมารดของท่านเอง เมื่ออายุประมาณ 11 ปี ท่านได้เข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนโรสฮิล (Rosehill Preparatory School) ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของอังกฤษ
ในโรงเรียนมัธยมศึกษานี้ ท่านได้แสดงความสามารถในด้านกีฬา และงานด้านสังคมต่างๆ จนท่านได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้านักเรียน เมื่ออยู่ชั้นปีสุดท้ายของโรงเรียน
หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาแล้ว ท่านบี-พีได้สอบเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อย และได้บรรจุเป็นทหารและถูกส่งออกไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชียและแอฟริกา
เมื่อท่านพ้นหน้าที่ทางการทหาร ใน ค.ศ. 1907 ท่านได้ทดลองฝึกอบรมเด็กผู้ชายเพื่อให้เป็นพลเมืองดีตามวิธีการของท่าน คือการนำเด็กกลุ่มหนึ่งประมาณ 20 คน ไปเข้าค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซีเป็นเวลา 9 คืน และสอนวิชาต่างๆ ตามแนวทางที่ท่านเขียนไว้ในหนังสือชื่อ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย เช่น การบุกเบิก การผูกเงื่อน การสังเกต เป็นต้น และยังมีกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งมีการประชุมรอบกองไฟในตอนกลางคืนด้วย การอยู่ค่ายพักแรมของเด็กกลุ่มนี้จึงเป็นการเริ่มต้นของการลูกเสือโลกและ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า บี-พีเป็นบิดาแห่งลูกเสือโลก
มูลเหตุแห่งความประทับใจของบี-พีที่ทำให้ก่อกำเนิดการลูกเสือขึ้นมาคือในปี ค.ศ. 1899 ท่านได้ถูกราชการทหารส่งไปทำหน้าที่รักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) อันเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในสหภาพแอฟริกาใต้ ในคราวเกิดสงครามกับพวกบัวร์ ซึ่งท่านมีทหารอยู่ในบังคับบัญชาอยู่เพียง 2 กองพัน แต่ต้องทำการต่อสู้กับศัตรูซึ่งมีกำลังมากกว่าถึง 3 เท่า โดยตกอยู่ในวงล้อมของข้าศึกถึง 217 วัน ทหารในบังคับบัญชาได้เสียชีวิตและล้มเจ็บเป็นจำนวนมาก แต่ท่านก็ประวิงเวลาข้าศึกไว้ได้โดยไม่เสียที่มั่น จนมีกองทัพอังกฤษได้ส่งกองทัพมาหนุนช่วย ทำให้พวกบัวร์ถอยกลับไป
บี-พีเมื่อมีชีวิตอยู่ ได้รับสมญานามอยู่ 3 ชื่อ
1. KANTAKYE (คันตะไก) แปลว่า ผู้สวมหมวกใหญ่
2. IMPEESA (อิมพีซ่า) แปลว่า สุนัขป่าที่ตื่นอยู่เสมอ แต่อเมริกาเป็นผู้ให้สมญานามว่า THE WOLF NEVER SLEEP
3. MAFEKING DEFENDER แปลว่า ผู้ป้องกันเมืองมาฟิคิง
SCOUT
S - SINCERITY = ความจริงใจ
C - COURTESY = ความสุภาพอ่อนโยน
O - OBEDIENCE = ความเชื่อฟัง
U - UNITY = ความเป็นใจเดียว
T - THRIFTY = ความมัธยัส
การแสดงความเคารพ
การทำความเคารพ
การทำความเคารพของลูกเสือ เป็นการแสดงออกของความมีระเบียบวินัยที่มีต่อกันและกันอาจเป็นการทักทายซึ่ง กันและกันในบรรดาเพื่อนลูกเสือ หรือลูกเสืออาวุโส หรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือ หรือครูผู้สอนวิชาลูกเสือ ตลอดจนผู้อาวุโสอื่นๆ เป็นการแสดงออกของมารยาทที่ดี ความเคารพนอบน้อมและความรักใคร่ซึ่งกันและกัน การทำความเคารพมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. วันทยหัตถ์ เป็นการทำความเคารพในกรณีที่ไม่มีอาวุธ ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
คำบอก "วันทยหัตถ์" และ "มือลง"
การปฏิบัติ ยกมือขวาขึ้นโดยเร็วและแข็งแรง จัดนิ้วอย่างเดียวกับท่ารหัสลูกเสือ ให้ปลายนิ้วแตะขอบล่างของหมวก ค่อนไปข้างหน้าเล็กน้อยในแนวหางขวา มือเหยียดตามแนวแขนขวาท่อนล่าง นิ้วเหยียดตรงเรียงชิดกัน ข้อมือไม่หัก เปิดฝ่ามือขึ้นประมาณ 30 องศา แขนขวาท่อนบนยื่นไปทางข้างอยู่ประมาณแนวไหล่ เมื่ออยู่ในที่แคบให้ลดข้อศอกลงได้ตามความเหมาะสม ร่างกายส่วนอื่นต้องไม่เสียลักษณะ ท่าตรง เมื่อได้ยินคำบอก "มือลง" ให้ลดมือลงอยู่ในท่าตรงโดยเร็วและแข็งแรง
หมายเหตุ
ก. ท่าวันทยหัตถ์ โดยปกติต่อจากท่าตรงเป็นท่าเคารพ เมื่ออยู่ตามลำพังนอกแถวของลูกเสือ สำหรับลูกเสือสำรองให้ทำวันทยหัตถ์ 2 นิ้ว คือยกนิ้วขวาขึ้นแยกนิ้วชี้กับนิ้วกลางออกเหยียดตรงและเมื่อจำเป็นก็ให้ทำ จากท่าที่นั่งได้
ข. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เข้าแถวแสดงความเคารพด้วยท่าวันทยหัตถ์ (สวมหมวก)
ค. ลูกเสือจะสวมหมวกหรือมิได้สวมหมวก ให้ทำวันทยหัตถ์ได้ ถ้าไม่ได้สวมหมวกให้ปลายนิ้วชี้แตะที่หางคิ้วขวา
เมื่อมีผู้รับการเคารพ
คำบอก "ทางขวา (ทางซ้าย, ตรงหน้า) วันทยหัตถ์"
การปฏิบัติ สะบัดหน้าไปยังผู้รับการเคารพ พร้อมกับยกมือทำวันทยหัตถ์ ก่อนถึงผู้รับการเคารพ 3 ก้าว ตามองจับผู้รับการเคารพและหันหน้าตามจนผู้รับการเคารพผ่านพ้นไปแล้ว 2 ก้าว ให้สะบัดหน้าพร้อมลดมือลงเอง ถ้าผู้รับการเคารพอยู่ตรงหน้าก็ปฏิบัติโดยไม่สะบัดหน้า ในการทำวันทยหัตถ์ เมื่อผู้รับการเคารพไม่เคลื่อนที่ผ่านก็ให้สะบัดหน้ากัน พร้อมกับลดมือลงตามคำบอก "มือลง"
2. วันทยาวุธหรือเคารพทำพลอง คือ การแสดงความเคารพเมื่อลูกเสือถือไม้พลอง มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
ก. เมื่ออยู่กับที่ ก่อนทำวันทยาวุธลูกเสือต้องอยู่ในท่าเรียบอาวุธ คือ อยู่ในท่าตรงถือไม้พลองด้วยมือขวา โคนไม้พลองอยู่ประมาณโคนนิ้วก้อยเท้าและชิดกับเท้าขวา จับไม้พลองอยู่ระหว่างนิ้วชี้ นิ้วอื่น 4 นิ้ว จับไม้พลองเฉียงลงไปข้างล่าง นิ้วเรียงชิดติดกัน ปลายไม้พลองอยู่ในร่องไหล่ขวาตั้งตรงแนบลำตัว เมื่อผู้บังคับบัญชาบอก "วันทยาวุธ" ให้ยกมือซ้ายเช่นเดียวกับการแสดงรหัสลูกเสือขึ้นแตะไม้พลอง ให้แขนซ้ายอยู่เสมอแนวระดับไหล่ทั้งสองข้าง เมื่อเลิกทำความเคารพ ผู้บังคับบัญชาจะบอก "เรียบ-อาวุธ" ให้ลูกเสือลดแขนซ้ายลงมาอยู่ที่เดิมโดยเร็ว ถ้าผู้รับการเคารพอยู่ทางขวาหรือทางซ้าย (หรือตรงหน้า) ผู้บังคับบัญชาอาจจะบอกทำความเคารพโดยกล่าวทิศทางว่าขวาหรือซ้าย (หรือตรงหน้า) ระวัง วันทยาวุธก็ได้ ลูกเสือก็ทำวันทยาวุธพร้อมกับหันหน้าไปยังผู้รับการเคารพ ตามองตามจนผู้รับความเคารพผ่านหน้าลูกเสือไปแล้ว 2 ก้าว จึงหันกลับมาอยู่ในท่าตรง เมื่อผู้รับการเคารพผ่านพ้นไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาจะบอกเลิกทำความเคารพ
ข. เมื่อเดินในท่าแบกพลองให้ลดมือขวาท่าแสดงรหัสลูกเสือไปแตะพลอง คว่ำฝ่ามือลงข้างล่างและให้แขนขวาอยู่แนวระดับไหล่ทั้งสองข้าง ในขณะทำความเคารพให้มองดูผู้รับการเคารพ
ข้อแนะนำสำหรับท่าเคารพ
ก. การแสดงความเคารพในเวลาเคลื่อนที่แขนต้องไม่แกว่ง คงเหยียดตรงตลอดปลายนิ้วและห้อยอยู่ข้างลำตัว (มือไม่ติดขาเหมือนอย่างอยู่กับที่)
ข. รัศมีแสดงการเคารพ ถือระยะที่มองเห็นเครื่องหมายหรือจำได้เป็นเกณฑ์
ค. ถ้าลูกเสือถืออาวุธ เมื่อได้ยินคำบอก ทางขวา (ซ้ายมือ) "ระวัง วันทยาวุธ" ให้ทำท่าแลขวา (ซ้าย) พร้อมกับทำท่าวันทยาวุธและทำท่าแลตรง เมื่อขาดคำบอกว่า เรียบอาวุธ พร้อมกับทำเรียบอาวุธ
ง. ในเวลาเคลื่อนที่ เมื่อจะต้องทำความเคารพโดยวิธีหยุด ก่อนที่ผู้รับการเคารพจะมาถึงระยะการแสดงความเคารพให้ทำท่าหันเวลาเดินไปทาง ทิศที่ผู้รับการเคารพจะผ่านมา โดยหยุดชิดเท้าอยู่ในท่าตรง แล้วแสดงความเคารพไปยังผู้รับการเคารพ เมื่อเลิกแสดงความเคารพแล้วให้ทำท่าหันไปในทิศทางเดิม และก้าวเท้าหลังเคลื่อนที่ต่อไปไม่ต้องชดเท้า
จ. ในโอกาสที่ผู้รับการเคารพอยู่กับที่ ผู้แสดงความเคารพไม่ต้องหยุดแสดงความเคารพ
ฉ. การแสดงความเคารพประกอบกับการรายงาน เช่น หน้าที่เวรยามให้วิ่งเข้าไปรายงานและหยุดแสดงความเคารพห่างจากผู้รับการ เคารพ 3 ก้าว หลังจากการรายงานจบหรือภายหลังจากการซักถามเสร็จแล้ว (จากวันทยหัตถ์หรือวันทยาวุธ) ให้ลดมือลงหรือเรียบอาวุธแล้วปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
โอกาสแสดงความเคารพ
1. ขณะกำลังเชิญธงขึ้นหรือเชิญธงลงหรือเมื่อมีผู้เชิญธงผ่าน ได้แก่ ธงชาติ ธงประจำกองทหาร ธงคณะลูกเสือแห่งชาติ ธงลูกเสือประจำจังหวัดทุกจังหวัด
2. ขณะมีการบรรเลงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย
3. แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์
4. ต่อผู้บังคับบัญชา บิดามารดา ครูอาจารย์ ผู้ที่เคารพนับถือ
5. ต่อเพื่อนลูกเสือด้วยกัน
การถวายราชสดุดี
เมื่อมี คำบอก "ถอดหมวก...นั่ง" ให้ลูกเสือก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว คุกเข่าขวาลง ตั้งเข่าซ้ายขึ้นแล้วนั่งบนส้นเท้าขวา มือขวาแบคว่ำวางลงบนเข่าขวา มือซ้ายที่ถือหมวกกางพาดบนเข่าซ้าย ในลักษณะตั้งฉาก เมื่อร้องเพลงราชสดุดีให้ก้มหน้าเล็กน้อย
เมื่อมีคำบอก "ลุก" ให้ลูกเสือลุกขึ้นพร้อมกับดึงเท้าซ้ายที่ก้าวออกไปกลับมาชิดที่เท้าขวาตาม เดิม เมื่อบอก "สวมหมวก" ให้ลูกเสือสวมหมวกทันทีและอยู่ในท่าตรงโดยเร็ว

พิธีการเปิดประชุม
พิธีการเปิดประชุมกอง
1. ผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารี เป็นบุคคลที่ควบคุมแถว
2. ให้รองผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ด้านหลังเสาธง
3. ผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารี นัดหมายหมู่บริการสั่ง "กอง...ตรง"
4. ลูกเสือ-เนตรนารี ทุกกอง ทุกหมู่ เคารพธงชาติ
4.1 กรณีลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในลักษณะมือเปล่า ผู้กำกับสั่ง "วันทยหัตถ์"..."มือลง"
4.2 กรณีที่ลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในลักษณะมีอาวุธ ผู้กำกับสั่ง "วันทยาวุธ"..."เรียบอาวุธ"
5. ผู้กำกับ รองผู้กำกับ พร้อมกันทำวันทยหัตถ์
6. ตรวจความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกาย
7. เริ่มการประชุม
7.1 ชักธงขึ้นสู่ยอดเสา
7.2 สวดมนต์
7.3 สงบนิ่ง
7.4 ตรวจแถว
7.5 แยกแถว
7.6 กิจกรรมตามความเหมาะสม (เพลงหรือเกม)
8. ปิดประชุมกองโดยการ
8.1 นัดหมาย
8.2 ตรวจเครื่องแบบอีกครั้ง
8.3 เชิญธงลง
8.4 เลิกแถว
พิธีการเปิดประชุมรอบเสาธง
1. วิทยากร เป็นบุคคลควบคุมแถว
2. ผู้อำนวยการฝึกยืนอยู่เสาธง
3. วิทยากรนัดหมาย หมู่บริการสั่ง "กอง...ตรง"
4. ทุกกอง ทุกหมู่ เคารพธงชาติ
4.1 กรณีลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในลักษณะมือเปล่า ผู้กำกับสั่ง "วันทยหัตถ์"..."มือลง"
4.2 กรณีที่ลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในลักษณะมีอาวุธ ผู้กำกับสั่ง "วันทยาวุธ"..."เรียบอาวุธ"
5. วิทยากร คณะผู้อำนวยการฝึกพร้อมกันทำวันทยหัตถ์
6. ตรวจความสมบูรณ์ (ถ้ามีการอยู่ค่ายพักแรมเกิน 5 วัน จะมีการส่งมอบธงเขียวด้วย)
7. เริ่มการเปิดประชุมรอบเสาธง
7.1 ชักธงขึ้นสู่ยอดเสา
7.2 สวดมนต์
7.3 สงบนิ่ง
7.4 ผู้อำนวยการฝึกกล่าวคำปราศัย
7.5 รับรายงานผลตรวจ-ให้โอวาท
7.6 วิทยากรนัดหมาย
8. ปิดการประชุมรอบเสาธง
8.1 นัดหมาย
8.2 สวดมนต์
8.3 สงบนิ่ง
8.4 เชิญธงลง
8.5 ร่วมกันร้องเพลงสามัคคีชุมนุม
คำแนะนำทั่วไป
การประชุมรอบเสาธงในตอนเช้าในระหว่างการฝึกอบรม
การประชุมรอบเสาธง สำหรับการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ให้มีพิธีกรหนึ่งคน ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการฝึกอบรม เป็นผู้ดำเนินการ เช่น วิทยากรประจำหมู่ วิทยากรที่ปรึกษา วิทยากรประจำกลุ่มหรือวิทยกรประจำวันเรียงตามลำดับ
การปฏิบัติในการชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในตอนเช้า
มีขั้นตอนตามลำดับดังต่อไปนี้
1. ให้พิธีกรยืนอยู่หน้าเสาธง หันหลังให้เสาธง ห่างประมาร 3 ก้าว
2. พิธีกรใช้คำสั่งเรียก "กอง" ใช้สัญญาณมือเรียกแถวรูปครึ่งวงกลม (ถ้าเป็นลูกเสือสำรองใช้คำสั่งเรียก "แพ็ค" แทนคำว่า "กอง")
3. การเข้าแถวรูปครึ่งวงกลมให้หมู่แรกอยู่ทางซ้ายมือของผู้เรียกเสมอ ทุกคนจะต้องจัดแถวโดยการสะบัดหน้าไปทางขวามือ ระยะเคียงระหว่างบุคคลภายในหมู่ 1 ช่วงศอก โดยให้มือซ้ายทาบสะโพกและดันศอกซ้ายให้เป็นแนวเดียวกับลำตัว ระยะเคียงระหว่างหมู่ 1 ช่วงแขน โดยให้รองหมู่ยกแขนซ้ายขึ้นวัดระยะแล้วเอาลง
4. ให้หมู่ถัดไปเข้าแถวจัดระยะเคียงระหว่างหมู่แรก เรียงกันไปตามลำดับจนครบทุกหมู่ โดยให้หมู่สุดท้ายอยู่ทางขวามือของผู้เรียกตรงกับหมู่แรก คือรองนายหมู่ของหมู่สุดท้ายจะยืนตรงกับนายหมู่ของหมู่แรก
5. เมื่อพิธีกรเห็นจัดรูปแถวเรียบร้อยแล้วจะสั่ง "นิ่ง" ทุกคนสะบัดหน้ากลับและคนที่ยกศอกซ้ายทาบสะโพกก็ลดศอกซ้ายลงยืนอยู่ในท่าตรง และนิ่ง
6. เมื่อทุกคนพร้อม พิธีกรสั่ง "ตามระเบียบ-พัก" ต่อจากนั้นพิธีกรนัดหมายตัวแทนหมู่บริการ ที่จะออกไปชักธงชาติ นำร้องเพลงชาติ นำสวดมนต์ก่อนแล้วสั่ง "กอง-ตรง" เสร็จแล้ว สั่งให้หมู่บริการเข้าไปเริ่มพิธีการชักธงชาติ (ถ้าเป็นลูกเสือสำรองให้สั่ง "แพ็ค-ตรง" ก่อนเช่นเดียวกัน) พิธีกรกลับไปเข้าแถวกับวิทยากรอื่นที่เข้าแถวอยู่หลังเสาธง เมื่อจะออกคำสั่งทุกครั้งให้ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว สั่งเสร็จให้กลับเข้าแถวตามเดิม
7. ตัวแทนหมู่บริการหรือลูกเสือในหมู่บริการรวม 2 คน ฝากไม้พลองหรือไม้ง่ามไว้กับคนข้างเคียงแล้ววิ่งออกไปยืนห่างจากเสาธงชาติ ประมาณ 3 ก้าว (ถ้าเป็นลูกเสือสำรองให้วิ่งออกไปยืนห่างเสาธงชาติประมาณ 3 ก้าว เพราะลูกเสือสำรองไม่มีอาวุธ)
8. ทั้งสองคนทำวันทยหัตถ์พร้อมกัน คนทางขวามือเดินเข้าไป 2 ก้าว ยืนเท้าชิด แก้เชือกธงที่ผูกติดเสาธงออกถอยหลังกลับไปยืนที่เดิม แยกเชือกธงเส้นที่ชักขึ้นให้คนที่อยู่ทางซ้ายมือไว้ ส่วนธงชาติอยู่ที่คนทางขวามือ อย่าให้เส้นเชือกหย่อน ยืนเตรียมพร้อมแล้วพิธีกรสั่ง "กอง-เคารพธงชาติ วันทยาวุธ" (ถ้าเป็นลูกเสือสำรองสั่ง "แพ็ค" เคารพธงชาติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนอยู่ในท่าตรง) ผู้ให้การฝึกอบรมซึ่งยืนแถวหน้ากระดานอยู่หลังเสาธงให้ทำวันทยหัตถ์
9. ลูกเสือตามที่ได้กำหนดไว้ 1 คน ในหมู่บริการ นำร้องเพลงชาติ ลูกเสือทุกคนร้องเพลงชาติ พอเริ่มร้องเพลงชาติให้ผู้ชักธงทางซ้ายมือค่อยๆ สาวสายเชือกให้ธงขึ้นสู่ยอดเสาช้าๆ ให้สายเชือกตึง ส่วนคนทางขวามือผ่อนสายเชือกให้ตึงเสมอกัน พอร้องเพลงจบให้ธงชาติถึงปลายเสาพอดี เสร็จแล้วให้คนทางขวามือเข้าไปผูกเชือกให้เรียบร้อยแล้วถอยหลังกลับเข้ามา ยืนที่เดิมในท่าตรง
10. ให้ผู้ชักธงทำวันทยหัตถ์พร้อมกัน เสร็จแล้วเอามือลง (ผู้ให้การฝึกอบรมเอามือลงพร้อมกับผู้ชักธง) กลับหลังหัน วิ่งไปเข้าแถวตามเดิมพร้อมกับรับไม้พลองหรือไม้ง่ามที่ฝากไว้ ให้ยืนตรงอยู่ในท่าวันทยาวุธ พิธีกรสั่ง "เรียบ-อาวุธ" (ถ้าเป็นลูกเสือสำรองให้วิ่งกลับไปอยู่ท่าตรง)
11. พิธีกรสั่ง ถอดหมวก หมู่บริการนำสวดมนต์ ทุกคนถอดหมวกประนมมือ หมู่บริการ 1 คน นำสวดมนต์อย่างย่อ เสร็จแล้วพิธีกรสั่ง "สงบนิ่ง" ลูกเสือทุกคนยืนสงบนิ่ง 1 นาที แล้วเงยหน้าขึ้น พิธีกรสั่ง "สวมหมวก" (ตามคู่มือระเบียบแถว) ผู้ให้การฝึกอบรมปฏิบัติพร้อมกับลูกเสือตั้งแต่พิธีกรสั่งลูกเสือ "ถอดหมวก" หมู่บริการนำสวดมนต์ สงบนิ่งและสวมหมวก
12. พิธีกรสั่ง "กอง-ตามระเบียบพัก" (ถ้าเป็นลูกเสือสำรองพิธีกรสั่ง "แพ็ค-ตามระเบียบพัก") แล้วพิธีกรทำซ้ายหัน ทำวันทยหัตถ์ผู้อำนวยการฝึกแล้วทำขวาหันกลับที่เดิม
13. ขณะที่ผู้อำนวยการฝึกเดินไปยืนหน้าเสาธง พิธีกรสั่ง "กอง-ตรง, วันทยาวุธ" ผู้อำนวยการฝึกทำวันทยหัตถ์ตอบ พิธีกรสั่ง "เรียบอาวุธ, ตามระเบียบพัก" (ถ้าเป็นลูกเสือสำรองพิธีกรสั่ง "แพ็ค-ตรง" ทุกคนเคารพด้วยท่าตรง พิธีกรสั่ง "ตามระเบียบพัก")
14. ผู้อำนวยการฝึกกล่าวปราศรัย ดำเนินการเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เช่น รายงานการตรวจ ให้โอวาท ขั้นตอนจบพิธีกรสั่ง "กอง-ตรง, วันทยาวุธ" ผู้อำนวยการฝึกทำวันทยหัตถ์ตอบ พิธีกรสั่ง "เรียบอาวุธ, ตามระเบียบพัก" (ถ้าเป็นลูกเสือสำรองพิธีกรสั่ง "แพ็ค-ตรง" ทุกคนเคารพด้วยท่าตรง พิธีกรสั่ง "ตามระเบียบพัก")
15. พิธีกรนัดหมาย แล้วสั่ง "กอง-ตรง, กอง-แยก" (ถ้าเป็นลูกเสือสำรอง พิธีกรสั่ง"แพ็ค-ตรง, แพ็ค-แยก")
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การปฐมพยาบาลเมื่อมีแมลงและสัตว์มีพิษกัดต่อย
1. แมลง
แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน เช่น ผึ้ง ต่อ แตน เป็นต้น เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้ ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง คันและปวด อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
วิธีปฐมพยาบาล
1. พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด โดยใช้วัตถุที่มีรู เช่น ลูกกุญแจ กดลงไปตรงรอยที่ถูกต่อย เหล็กในจะโผล่ขึ้นมาให้คีบออกได้
2. ใช้ผ้าชุบน้ำยาที่ฤทธิ์ด่างอ่อน เช่น น้ำแอมโมเนีย น้ำโซดาไบคาบอร์เนต น้ำปูนใส ทาบริเวณแผลให้ทั่วเพื่อฆ่าฤทธิ์กรดที่ค้างอยู่ในแผล
3. อาจมีน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าแผลบวมมาก
4. ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด ถ้าคันหรือผิวหนังมีผื่นขึ้นให้รับประทานยาแก้แพ้
5. ถ้าอาการไม่ทุเลาลง ควรไปพบแพทย์
2. แมงป่องหรือตะขาบ
ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าแมลงชนิดอื่น เพราะแมงป่องและตะขาบมีพิษมากกว่า บางคนที่แพ้สัตว์ประเภทนี้อาจมีอาการปวดและบวมมาก มีไข้สูง คลื่นไส้ บางคนมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและมีอาการชักด้วย
วิธีปฐมพยาบาล
1. ใช้สายรัดหรือขันชเนาะเหนือบริเวณเหนือบาดแผล เพื่อป้องกันไม่ให้พิษแพร่กระจายออกไป
2. พยายามทำให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุด อาจทำได้หลายวิธี เช่น เอามือบีบ เอาวัตถุที่มีรูกดให้แผลอยู่ตรงกลางรูพอดี เลือดจะได้พาเอาพิษออกมาด้วย
3. ใช้แอมโมเนียหอมหรือทิงเจอร์ไอโอดี 2.5% ทาบริเวณแผลให้ทั่ว
4. ถ้ามีอาการบวม อักเสบและปวดมาก ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย
5. ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง ต้องรีบนำส่งแพทย์


4. งู
ประเทศไทยมีงูหลายชนิด มีทั้งงูพิษและงูไม่มีพิษ งูพิษร้ายแรงมีอยู่ 7 ชนิด คือ งูเห่า งูจงอาง งูแมวเซา งูกะปะ งูสามเหลี่ยม งูเขียวหางไหม้ และงูทะเล พิษของงูมีลักษณะเป็นสารพิษ งูแต่ละชนิดมีลักษณะของสารไม่เหมือนกัน เมื่อสารพิษนี้เข้าไปสู่ร่างกายแล้วสามารถซึมผ่านเข้าไปในกระแสเลือดที่ไป เลี้ยงตามส่วนต่างๆ เกิดขึ้นในร่างกายไม่เหมือนกัน ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะงูพิษได้ 3 ประเภท
ลักษณะบาดแผลที่ถูกงูพิษและงูไม่มีพิษกัด
งูพิษมีเขี้ยวยาว 2 เขี้ยว อยู่ด้านหน้าของขากรรไกรบนมีลักษณะเป็นท่อปลายแหลมเหมือนเข็มฉีดยา มีท่อต่อมน้ำพิษที่โคนเขี้ยว เมื่องูกัดพิษงูจะไหลเข้าสู่ร่างกายทางรอยเขี้ยว
ส่วนงูไม่มีพิษจะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟันธรรมดาแหลมๆ เล็กๆ เวลากัดจึงไม่มีรอยเขี้ยว
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อแน่ใจว่าถูกงูกัด ให้ทำการปฐมพยาบาลอย่างสุขุมรอบคอบรัดกุม อย่าตกใจ ให้รีบสอบถามลักษณะงูที่กัดจากผู้ป่วยและรีบทำการปฐมพยาบาลตามลำดับ ดังนี้
1. ใช้เชือก สายยาง สายรัด หรือผ้าผืนเล็กๆ รัดเหนือแผลประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยให้บริเวณที่ถูกรัดอยู่ระหว่างแผลกับหัวใจ รัดให้แน่นพอสมควร แต่อย่าให้แน่นจนเกินไป พอให้นิ้วก้อยสอดเข้าได้ เพื่อป้องกันไม่ให้พิษงูเข้าสู่หัวใจโดยรวดเร็ว และควรคลายสายที่รัดไว้ ควรใช้สายรัดอีกเส้นหนึ่งรัดเหนืออวัยวะที่ถูกงูกัดขึ้นไปอีกเปลาะหนึ่ง เหนือรอยรัดเดิมเล็กน้อยจึงค่อยคลายผ้าที่รัดไว้เดิมออก ทำเช่นนี้ไปจนกว่าจะได้ฉีดยาเซรุ่ม
2. ล้างบาดแผลด้วยน้ำด่างทับทิมแก่ๆ หลายๆ ครั้ง และใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็งประคบหรือวางไว้บนบาดแผล พิษงูจะกระจายเข้าสู่ร่างกายได้ช้าลง
3. ให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าที่บาดแผลงูพิษกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ นอนอยู่นิ่งๆ เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้พิษงูกระจายไปตามร่างกาย และควรปลอบใจให้ผู้ป่วยสบายใจ
4. ไม่ควรให้ผู้ป่วยเสพของมึนเมา เช่น กัญชา สุรา น้ำชา กาแฟ เพราะจะทำให้หัวใจเต้นแรง อาจทำให้พิษงูกระจายไปทั่วร่างกายเร็วขึ้น
5. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ถ้านำงูที่กัดไปด้วยหรือบอกชื่องูที่กัดได้ด้วยยิ่งดี เพราะจะทำให้ เลือกเซรุ่มแก้พิษงูได้ตรงตามพิษงูที่กัดได้ง่ายยิ่งขึ้น
การป้องกันงูพิษกัด
1. ถ้าต้องออกจากบ้านเวลากลางคืนหรือต้องเดินทางเข้าไปในป่าหรือทุ่งหญ้าหรือใน ที่รก ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าหุ้มข้อและสวมกางเกงขายาว
2. ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่รกเวลากลางคืนหรือเดินทางไปในเส้นทางที่น่า จะเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่หากินของงู ถ้าจำเป็นควรมีไฟส่องทางและควรใช้ไม้แกว่งไปมาให้มีเสียงดังด้วย แสงสว่างหรือเสียงดังจะทำให้งูตกใจหนีไปที่อื่น
3. หากจำเป็นต้องเดินทางไปในที่มีงูชุกชุมหรือเดินทางไปในที่ซึ่งมีโอกาสได้รับ อันตรายจากงูกัด ควรระมัดระวังเป็นพิเศษและควรเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลติดมือไปด้วย
4. เวลาที่งูออกหากินคือเวลาที่พลบค่ำและเวลาที่ฝนตกปรอยๆ ที่ชื้นแฉะ งูชอบออกหากินกบและเขียด ในเวลาและสถานที่ดังกล่าว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
5. ไม่ควรหยิบของหรือยื่นมือเข้าไปในโพรงไม้ ในรู ในที่รก กอหญ้า หรือกองไม้ เพราะงูพิษอาจอาศัยอยู่ในที่นั้น
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลม
การเป็นลมแดด
สาเหตุ เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงมากเกินไป ซึ่งอาจเนื่องมาจากอยู่กลางแดดนานเกินไปหรือดื่มสุราขณะที่อากาศร้อนจัด เป็นต้น
อาการ ใบหน้าและนัยน์ตาแดง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ หายใจถี่ ชีพจรเต้นเร็วและเบา ผิวหนังและใบหน้าแห้ง ตัวร้อน ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการชักและหมดสติได้
วิธีการปฐมพยาบาล
1. รีบนำผู้ป่วยเข้าในร่มที่ใกล้ที่สุด
2. ให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัว
3. อย่าให้แอมโมเนียหรือยากระตุ้นหัวใจ เพราะจะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
4. ขยายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม เพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก
5. เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้วและร่างกายเย็นมาก ให้เอาผ้าห่อคลุมตัวให้อบอุ่นและหาเครื่องดื่มร้อนๆ ให้ดื่มเพื่อให้ความอบอุ่นร่างกาย
6. ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดแผล
เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายถูกของมีคมหรือถูกกระแทกอาจจะทำให้ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ช้ำหรือฉีกขาดเป็นบาดแผลขึ้นกับตำแหน่งบาดแผล และความรุนแรงของแรงกระแทกที่มีถึงอวัยวะภายใน รวมทั้งชนิดของเชื้อโรคที่เข้าสู่บาดแผล ดังนั้นเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นต้องรีบปฐมพยาบาล เพื่อลดอาการเจ็บปวดและป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ
การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดแผลหรือการทำแผลขึ้นอยู่กับลักษณะของบาดแผล ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ บาดแผลฟกช้ำและบาดแผลแยก
1. แผลฟกช้ำ
บาดแผลฟกช้ำหรือบาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่ไม่มีร่องรอยของผิวหนัง แต่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดบริเวณที่อยู่ใต้ผิวหนังส่วนนั้น มักเกิดจากแรงกระแทกของแข็งที่ไม่มีคม เช่น ถูกชน หกล้ม เป็นต้น ทำให้เห็นเป็นรอยฟกช้ำ บวมแดงหรือเขียว
การปฐมพยาบาล
1. ให้ประคบบริเวณนั้นด้วยความเย็น เพราะความเย็นจะช่วยให้เลือดใต้ผิวหนังบริเวณนั้นออกน้อยลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบเบาๆ ก็ได้
2. ถ้าบาดแผลฟกช้ำเกิดขึ้นกับอวัยวะที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก เป็นต้น ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วนที่ยืดหยุ่นได้พันรอบข้อเหล่านั้นให้แน่นพอ สมควร เพื่อช่วยให้อวัยวะที่มีบาดแผลอยู่นิ่งๆ และพยายามอย่างเคลื่อนไหวผ่านบริเวณนั้น เพราะจะทำให้รอยช้ำค่อยๆ จางหายไป
2. แผลแยก
บาดแผลแยกหรือบาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่เกิดจากการฉีกขาดของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากการถูกของมีคม บาด แทง กรีด หรือถูกวัตถุกระแทกแรงจนเกิดบาดแผล มองเห็นมีเลือดไหลออกมา บาดแผลแยกมีลักษณะแตกต่างกัน แบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้

3. แผลถลอก
เกิดจากผิวหนังถูกของแข็งหรือของมีคม ขูด ขีด ข่วน หรือครูด มักเป็นบาดแผลตื้น มีเลือดไหลซึมๆ เช่น หกล้มหัวเข่าถลอก ถูกเล็บข่วน เป็นต้น
การปฐมพยาบาลแผลถลอก
1. ให้ชำระล้างบาดแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด ถ้ามีเศษหิน ขี้ผง ทราย อยู่ในบาดแผลให้ใช้น้ำสะอาดล้างออกให้หมด
2. ใช้ปากคีบสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% พอหมาดๆ เช็ดรอบๆ บาดแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรครอบๆ (ไม่ควรเช็ดลงบาดแผลโดยตรง เพราะจะทำให้เจ็บแสบมาก เนื่องจากยังเป็นแผลสด)
3. ใช้สำลีชุบยาแดงหรือทิงเจอร์ใส่แผลสด (สีส้มๆ) ทาลงบาดแผล แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องปิดบาดแผล ยกเว้นบาดแผลที่เท้าซึ่งควรปิดด้วยผ้ากอซสะอาด เพื่อป้องกันฝุ่นละออง
4. ระวังอย่าให้บาดแผลถูกน้ำ
5. ไม่ควรแกะหรือเกาบาดแผลที่แห้งตกสะเก็ดแล้ว เพราะทำให้เลือดไหลอีก สะเก็ดแผลเหล่านั้นจะแห้งและหลุดออกเอง
4. แผลตัด
เกิดจากถูกของมีคมบาดลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เช่น มีดบาด กระจกบาด ฝากระป๋อง เป็นต้น อาจเป็นบาดแผลตื้นๆ หรือบาดแผลตัดลึกก็ได้ ซึ่งถ้าถูกเส้นเลือดใหญ่จะมีเลือดไหลออกมา
การปฐมพยาบาลเมื่อมีแผลตัด
1. ถ้าบาดแผลตัดเป็นบาดแผลตื้น ควรห้ามเลือดโดยใช้นิ้วสะอาดหรือผ้าจดบนบาดแผลจนเลือดหยุดไหล
2. เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด แล้วใส่ยาแดงหรือทิงเจอร์ใส่แผลสด
3. รวบขอบบาดแผลที่ตัดเข้าหากันแล้วปิดด้วยปลาสเตอร์
4. ระวังอย่าให้แผลถูกน้ำ 2-3 วัน รอยแยกของแผลตัดจะติดกันสนิท
5. ในกรณีที่แผลลึกและยาวซึ่งต้องเย็บแผล ควรห้ามเลือดแล้วปิดแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วรีบนำผู้บาดเจ็บส่งแพทย์
5. แผลฉีกขาด
เกิดจากถูกของแข็งกระแทกอย่างแรงทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังฉีกขาด ขอบแผลจะเป็นรอยกะรุ่งกะริ่ง บางตอนตื้น บางตอนลึก ไม่เรียบเสมอกันและจะมีเลือดออกมาก เช่น แผลถูกรถชน แผลถูกระเบิด แผลถูกสุนัขกัดกระชาก เป็นต้น แผลชนิดนี้มีเนื้อเยื่อถูกทำลายมากกว่าแผลตัดบาดแผลมักกว้าง เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
การปฐมพยาบาลเมื่อมีแผลฉีกขาด
1. บาดแผลฉีกขาดที่มีเลือดไหลออกมาก ควรรีบห้ามเลือดโดยเร็ว โดยใช้ผ้าสะอาดที่มีความนุ่มและหนาพอสมควรกดลงบนบาดแผล หากเลือดยังไม่หยุดไหลแสดงว่าเส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด ควรห้ามเลือดโดยวิธีการกดเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณนั้นร่วมกับการใช้ผ้ากดห้าม เลือด
2. เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว ให้ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ แผลด้วยน้ำสะอาด แล้วปิดแผลด้วยผ้ากอซ แล้วใช้ปลาสเตอร์หรือผ้าพันแผลพันรอบให้แน่นพอสมควร
3. นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพื่อให้ตกแต่งบาดแผลด้วยวิธีที่ถูกต้องต่อไป

6. แผลถูกแทงหรือยิง
เกิดจากการถูกของแข็งทิ่มแทงทะลุเข้าไปใต้ผิวหนัง ขนาดของแผลมักเล็กแต่ลึก มีเลือดออกมาภายนอกไม่มาก แต่มีเลือดตกภายใน เพราะอวัยวะภายในบางส่วนอาจฉีกขาดจากการถูกแทงหรือยิง บางครั้งอาจเสียชีวิตได้ เช่น ถูกมีดแทง ถูกตะปูตำ ถูกยิงด้วยกระสุนปืน เป็นต้น
การปฐมพยาบาลเมื่อมีบาดแผลถูกแทงหรือยิง
1. แผลถูกแทงหรือยิงส่วนใหญ่เป็นบาดแผลฉกรรจ์และอันตรายมากควรนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
2. ระหว่างทาง ควรช่วยห้ามเลือดที่ไหลออกมาภายนอกโดยใช้ผ้าสะอาดกดบนแผล ส่วนเลือดที่ออกภายในซึ่งเรามองไม่เห็นนั้น อาจใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบรอบ ๆ แผลเพราะความเย็นจะช่วยให้เลือดไหลช้าลง
3. สังเกตอาการผู้ป่วย ถ้าพบว่าหยุดหายใจหรือหายใจแผ่วให้ผายปอดทันที หรือหัวใจหยุดเต้นหรือแผ่วเบา ให้รีบนวดหัวใจร่วมกับการผายปอด

การใช้สัญญาณนกหวีด
เมื่อลูกเสืออยู่รวมกันในกรณีพิเศษหลายกอง หรืออยู่ปะปนกันกับประชาชนหรือเมื่อเดินทางไกล หรืออยู่ค่ายแต่ลำพัง หน่วยลูกเสือต่าง ๆ ที่มารวมกันหรือกองลูกเสืออาจจัดให้ใช้สัญญาณแตรเดี่ยวก็ได้
สำหรับการฝึกผู้บังคับบัญชาลูกเสืออาจใช้สัญญาณนกหวีดบังคับแถวลูกเสือได้ ดังนี้
1. หวีดยาว 1 ครั้ง ( ___ ) ถ้าเคลื่อนที่ให้หยุด ถ้าหยุดอยู่ให้ถือว่าเป็นสัญญาณเตือน เตรียมตัวหรือคอยฟังคำสั่ง
2. หวีดยาว 2 ครั้ง ( ___ ___) เดินต่อไป เคลื่อนที่ต่อไป ทำงานต่อไป
3. หวีดสั้น 1 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง สลับกันไป ( _ ___ _ ___ ) เกิดเหตุ
4. หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ติดต่อกันไป ( _ _ _ ___ ) เรียกนายหมู่มารับคำสั่ง
5. หวีดสั้นติดกันหลาย ๆ ครั้ง ( _ _ _ _ _ _ _ ) ประชุม รวม

เงื่อน
การใช้เชือก เงื่อนเชือก และวัสดุอุปกรณ์เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ
1. ประเภทต่อเชือกเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการต่อเชือกให้ยาวขึ้น ได้แก่ เงื่อนพิรอด เงื่อนประมง เงื่อนยายแก่ เงื่อนขัดสมาธิ เงื่อนขัดสมาธิ 2 ชั้น เงื่อนขัดสมาธิใช้หักคอ เงื่อนบ่วงสายธนู เงื่อนบ่วงสายธนู 2 ชั้น เงื่อนบ่วงสายธนูสเปน เงื่อนบ่วงสายธนูน้ำ
2. ประเภททำเป็นบ่วง เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับคล้องหรือสวมกับหลัก เสา สัตว์หรือคน ได้แก่ เงื่อนคนลาก เงื่อนเก้าอี้ เงื่อนรูด เงื่อนไม่รูด เงื่อนปุ่มเพชร เงื่อนเลข 8 เงื่อนบ่วงคล้อง เงื่อนสาแหรก เงื่อนผูกของทรงกลม
3. ประเภทผูกกับวัตถุ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับผูกให้แน่น ใช้รั้งให้ตึงหรือดึงให้แน่น ได้แก่ เงื่อนผูกปากกระสอบ เงื่อนผูกรั้ง เงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนตะกรุดเบ็ดหลายชั้น เงื่อนผูกซุง เงื่อนกระหวัดไม้ เงื่อนผูกกระดาน เงื่อนบุกเบิก เงื่อนผูกถังตั้ง เงื่อนผูกถังนอน ผูกประกอบ
ผูกกากบาท ผูกทะแยง กากบาทญี่ปุ่น ผูกทะแยงฟิลิปปินส์ เงื่อนผูกร่นหรือทบเชือก
4. ประเภทใช้ถักและแทง ใช้ประโยชน์เป็นวัสดุต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม ได้แก่ การแทงกลับ การต่อสั้น แทงบ่วงปลายเชือก ( บ่วงตา ) การต่อยาว การแทงบ่วงกลางเชือก
แบบง่าย แบบชาวเรือ แบบผูกมัดรอบตัวเชือก เงื่อนลูกโซ่ สายยงยศลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
สายยงยศเนตรนารี สายนกหวีด
เงื่อนพิเศษ
1. ว๊อกเกิ้ล
เป็นห่วงสวมผ้าผูกคอสำหรับลูกเสือ ผู้ บังคับบัญชาลูกเสือที่ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้อง ต้นใช้สายหนังถักเรียกว่า กิลเวลล์ ว๊อกเกิ้ล เป็นรูปแบบผ้าโพกหัวของชาวเติร์ก ซึ่งเป็นผู้มีความอดทน
2. สายยงยศลูกเสือ
เป็นเครื่องหมายสูงสุดของลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ซึ่งจะต้องสอบวิชาพิเศษได้ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ จึงจะมีสิทธิ์ประดับได้ โดยเฉพาะลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะต้องถักสายหนังด้วยตนเอง
3. สายนกหวีด
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกคน ทุกประเภทต้องมีสายนกหวีดสวมทับผ้าผูกคอ ปลายสายผูกนกหวีดสอดเข้ากระเป๋าเสื้อด้านซ้าย สำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์แล้วจึงใช้สายหนัง ไม่ต้องมีสายนกหวีด

สิ่งสำคัญเมื่อผู้บังคับบัญชาพาลูกเสือไปเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม
ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
ข้อ 273 ให้ผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับลูกเสือ นำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและแรมคืนในปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อย 1 คืน การเดินทางไกลและแรมคืนมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้ลูกเสือมีความอดทน อยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยตนเองและทำงานร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนวิชาลูกเสือเพิ่มเติมในระหว่างการเดินทางไกลและแรมคืน ลูกเสือพึงเว้นการกระทำใดๆ ที่เป็นการรบกวนหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ผู้บังคับบัญชาลูกเสือพึงวางแผนการนำลูกเสือไปเดินทางไกลและแรมคืนไว้ให้ พรักพร้อมและเนิ่นๆ
ข้อ 274 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเสียก่อน ถ้าจะแรมคืนจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัดและจากเลขาธิการคณะ กรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ แล้วแต่กรณี
ข้อ 275 ผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องระวังดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อมิให้เกิดอันตรายแก่ลูกเสือขึ้นได้ ทั้งนี้ตั้งแต่ออกเดินทางจนกระทั่งกลับถึงที่ตั้งกลุ่มลูกเสือหรือกองลูก เสือ
ข้อ 276 เมื่อเสร็จการเดินทางไกลและแรมคืนแล้ว ได้ปฏิบัติได้อย่างไร ได้ผลเป็นอย่างไร ให้ผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับกองลูกเสือ ทำรายงานที่ได้กระทำไปโดยละเอียด เสนอต่อผู้สั่งอนุญาต
ข้อ 277 การแรมคืนของลูกเสือสำรอง นอกจากต้องปฏิบัติตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ให้ปฏิบัติในเรื่องต่อไปนี้ด้วย
1. มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือคุมอย่างน้อย 2 คน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้กำกับลูกเสือสำรองที่มีประสบการณ์ในเรื่องการอยู่ค่าย พักแรมของลูกเสือเป็นอย่างดีอีกด้วย
2. ต้องมีผู้บังคับบัญชาลูกเสือหรือผู้ใหญ่อย่างน้อย 1 คน ประจำลูกเสือสำรองทุก 6 คน
3. ในที่แรมคืน ต้องมีน้ำประปาหรือน้ำสะอาดสำหรับบริโภค และมีเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการทำครัว ตลอดจนเครื่องสุขภัณฑ์ที่ถูกสุขลักษณะ
4. ศาลาที่พักของลูกเสือต้องสะอาด ถ้าไม่มีศาลาที่พักจะใช้เต็นท์ก็ได้ และจะต้องมีจำนวนเพียงพอ
5. ผู้สั่งอนุญาตให้นำลูกเสือไปแรมคืน จะต้องไม่อนุญาตจนกว่าจะเป็นที่พอใจในเรื่องผู้ควบคุมลูกเสือ สถานที่พักและการตระเตรียมต่างๆ
ข้อ 278 ในการเดินทางไกลและแรมคืน ผู้บังคับบัญชาลูกเสือไม่ควรอนุญาตให้ลูกเสือลงเล่นน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือสระ เว้นแต่จะได้มีการควบคุมอย่างใกล้ชิด หากผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะอนุญาตให้ลูกเสือลงเล่นน้ำ จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. พิจารณาในเรื่องอายุ สุขภาพ ตลอดจนความสามารถในการว่ายน้ำของลูกเสือแต่ละคน
2. ตรวจสอบความตื้นลึกของน้ำ
3. พิจารณาสภาพของลมฟ้าอากาศในขณะลงเล่นน้ำ
4. แบ่งลูกเสือออกเป็นหมู่ย่อยๆ ตามความสามารถสำหรับลงเล่นน้ำ โดยให้แต่ละหมู่มีผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด
5. ให้มีเจ้าหน้าที่สำหรับดูแล ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเครื่องหมายวิชาช่วยผู้ประสบภัยมาแล้วกับควรมีเครื่อง อุปกรณ์สำหรับช่วยคนจมน้ำไว้ให้พร้อม สามารถที่จะช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ทันที
6. ในระหว่างการเล่นน้ำ อาจมีลูกเสือจับเป็นคู่ๆ โดยให้ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการสอบจำนวนลูกเสือว่ามีอยู่ครบหรือไม่ ให้เป่านกหวีด เมื่อได้ยินสัญญาณ ลูกเสือจะต้องอยู่เป็นคู่ๆ อาจใช้ชูมือขึ้นเพื่อตรวจสอบจำนวน
7. เมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีดเลิกตามที่กำหนดไว้ ลูกเสือต้องขึ้นจากน้ำทันที
ข้อ 279 การเดินทางไกลไปต่างประเทศ มีระเบียบปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ลูกเสือที่ประสงค์จะเดินทางไกลไปต่างประเทศ จะต้องยื่นเรื่องราวตามลำดับขั้น จำถึงสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ พร้อมทั้งชี้แจงความประสงค์และรายละเอียดต่างๆ
2. การเชิญลูกเสือต่างประเทศมาเยี่ยมหรือแรมคืนในประเทศไทย จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดหรือเลขาธิการคณะกรรมการ บริหารลูกเสือแห่งชาติ แล้วแต่กรณี
แนวปฏิบัติการอยู่ค่ายพักแรม
การพาลูกเสือไปอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรจะเสนอแนะให้ลูกเสือทราบและนำไปปฏิบัติตามแนวทาง ต่อไปนี้
1. การติดต่อประสานงาน
ให้ลูกเสือติดต่อประสานงานและรับทราบกำหนดการต่างๆ จากผู้อำนวยการค่ายหรือผู้อำนวยการฝึกอบรม หรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี
2. หน้าที่และความรับผิดชอบของลูกเสือ
-นายหมู่และรองนายหมู่ จะต้องควบคุมดูแลและตรวจสอบความสงบเรียบร้อยภายในหมู่ของตน
-นายหมู่และรองนายหมู่ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ คอยควบคุมดูแลมิให้มีเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้นแก่สมาชิกภายในหมู่ ของตน
3. การแต่งกาย
-เมื่ออยู่ในค่ายพักแรม ลูกเสือจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อยในชุดลำลอง หรือตามที่ผู้อำนวยการค่าย หรือผู้อำนวยการฝึก หรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับมอบหมายกำหนด
-เมื่อลูกเสือออกไปปฏิบัติกิจกรรมหรือออกนอกค่าย หรือรับรองผู้มาเยี่ยมเยียน หรือเข้าร่วมพิธีการใดๆ จะต้องแต่งเครื่องแบบลูกเสือครบ (ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการค่าย หรือผู้อำนวยการฝึก หรือผู้บังคับบัญชา แล้วแต่กรณี)
4. การสุขาภิบาลและการรักษาความสะอาด
-บริเวณค่ายพักแรม ควรรักษาให้สะอาดและแห้ง ถ้ามีน้ำขังจะเน่า เป็นที่เพาะพันธุ์ยุงและเชื้อโรค จึงควรกลบหลุมที่มีน้ำขังให้หมด อย่าปล่อยทิ้งไว้
-ที่ทิ้งขยะและเศษอาหาร ควรใส่ในหลุมแห้งหรือใช้ถุงพลาสติกที่เตรียมไว้เพื่อสะดวกแก่การจัดเก็บหรือกำจัด
-ห้องน้ำ-ห้องส้วม เมื่อใช้แล้วต้องช่วยกันรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ควรทำความสะอาดตามที่กำหนดหรือจัดเวรดูแลรักษาความสะอาดประจำทุกวัน เพื่อขจัดมลภาวะเป็นพิษ
5. การประกอบอาหาร
-ที่ประกอบอาหาร ใช้สถานที่ที่กำหนดไว้ให้ตามความเหมาะสม แต่ละหมู่จะต้องประกอบอาหารรับประทานเอง โดยจัดทำเป็นหมู่ก็สุดแต่จะสะดวก (หรือแล้วแต่กรณีตามที่ผู้อำนวยการค่าย หรือผู้อำนวยการฝึก หรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับมอบหมายกำหนด) อาหารที่นำมาประกอบเพื่อรับประทานเป็นวันๆ นั้น คือ อาหารที่ทางผู้บังคับบัญชาจัดให้ อาหารแห้งที่ลูกเสือเตรียมมาประกอบเอง อาหารสดที่ซื้อมาเพิ่มเติมจากตลาด
ข้อควรคำนึงในการประกอบอาหาร
-ความสะอาดของภาชนะ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ประกอบอาหาร
-ทำให้สุกและร้อนก่อนนำมารับประทาน
-รู้จักประหยัดฟืนในการหุงต้มและเก็บไว้ในที่มีความปลอดภัย
-น้ำดื่มควรจัดใส่ภาชนะที่สะอาดและปกปิดให้มิดชิด วางไว้ในทีสะดวกสำหรับทุกคน
6. การปฏิบัติกิจกรรม
-ให้ลูกเสือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
-ลูกเสือที่ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ควรคำนึงถึงเวลา ความปลอดภัยทั้งตนเองและบุคคลอื่น
7. การเก็บรักษาทรัพย์สินภาพในค่าย
-ขอให้ร่วมมือกันในการระมัดระวังทรัพย์สินทุกชิ้น ทุกชนิดของตนเอง ของผู้อื่นและส่วนรวม
-ให้นายหมู่แต่ละหมู่ กวดขัน ควบคุมดูแลเครื่องใช้และทรัพย์สินทุกชิ้น อย่าให้เกิดการหลงลืม สูญหายหรือการลักขโมยเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด
8. การเจ็บป่วย
-เมื่อมีการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น ควรแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาที่ปรึกษาทราบโดยด่วน และถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องส่งโรงพยาบาล ควรจะแจ้งให้ผู้อำนวยการค่าย หรือผู้อำนวยการฝึก หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายทราบทันที
9. ข้อห้าม
-ห้ามนำสุราหรือยาเสพติดให้โทษ ตลอดจนของมึนเมาทุกชนิดเข้ามาในค่ายอย่างเด็ดขาด และไม่ควรนำของมีค่านอกจากที่กำหนดไว้นำเข้ามาในค่าย หากเกิดการสูญหารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
10. การรื้อถอน
เมื่อเสร็จสิ้นการอยู่ค่ายพักแรมแล้ว ก่อนที่จะออกนอกค่ายจะต้องรื้อถอนอุปกรณ์ทุกชนิดที่ลูกเสือนำมาก่อสร้าง แล้วนำไปเก็บในที่ที่กำหนดไว้ (ยกเว้นสิ่งก่อสร้างที่ถาวร) และทำความสะอาดบริเวณค่ายพักไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหลงเหลืออยู่
1. คติพจน์ทั่วไป
คติพจน์ทั่วไปของลูกเสือไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ว่า "เสียชีพ อย่าเสียสัตย์" ซึ่งมีความหมายว่า ลูกเสือจะต้องรักษาคุณความดี และคำปฏิญาณที่ได้ให้ไว้ดุจชีวิต
2. คติพจน์ของลูกเสือ (สามัญ)
คติพจน์ของลูกเสือสามัญ "จงเตรียมพร้อม" มีผู้ถามบี.พี.ว่า "จงเตรียมพร้อม" (Be Prepared) สำหรับอะไร บี.พี.ตอบว่า "เตรียมพร้อม สำหรับทุกสิ่ง" คติพจน์ของลูกเสือข้อนี้ หมายความว่า ลูกเสือต้องอยู่ในสภาพพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนเองและพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อจำเป็น
B ravery กล้าหาญ
E nterprise กล้าทำ
P urpose มีเป้าหมาย
R esolilution มีปณิธาน
E ndurance อดทน
P artnership ร่วมกิจกรรม
A ssurance เชื่อมั่นในตนเอง
R eformation ปรับปรุงสร้างสรรค์
E nthusiam กระตือรือร้น
D evotin อุทิศตน
คติพจน์ของลูกเสือสำรอง " ทำดีที่สุด "
คติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ " มองไกล "
คติพจน์ของลูกเสือวิสามัญ " บริการ "
Views: 7103 | Added by: artisuk | Rating: 0.0/0
Total comments: 1
1 avtoexperts  
0
Для того чтобы получить ответы на интересующие вопросы зайдите на наш сайт http://expert-mo.com/

независимая экспертиза монино
автоэкспертиза красногорск
оценочная компания поварово
независимая автоэкспертиза ашукино
автоэкспертиза звенигород
оценщик им. воровского
оценка автомобиля черноголовка
оценщик софрино
оценка автомобиля томилино
автоэкспертиза павловский посад

Name *:
Email *:
Code *: